องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : www.thajalung.go.th

 
 
กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.


รายงานผลการดำเนินโครงการชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลังต

    รายละเอียดข่าว

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลังต่อต้านยาเสพติด ปีงบประมาณ 2555 ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ************************ 1.ชื่อโครงการ โครงการชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลังต่อต้านยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2555 ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย เป็นปัญหาสำคัญที่นโยบายของรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวาะแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างบูรณาการ ประเทศไทยเป็นพื้นที่แพร่ระบาดและเป็นทางผ่านยาเสพติดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ประกอบด้วย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า สารระเหย โคเคน ยาอี และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทบางชนิด เช่น จำพวกยานอนหลับ ตัวยาที่แพร่ระบาดมากและมีปัญหาในระดับรุนแรง คือ ยาบ้า ซึ่งแพร่กระจายเป็นวงกว้างอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้ค้ามีกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆตั้งแต่ระดับรายใหญ่ ระดับกลาง และระดับย่อยในพื้นที่แพร่ระบาด ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนามัยกรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ ตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลางและทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ ผู้ที่ติดยาเสพติด อาจเกิดปัญหาทางสุขภาพอนามัย หรือโรคต่างๆ ได้หลายอย่าง ได้แก่ การใช้ยาเกินขนาด โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทกลาง เมื่อใช้เกินขนาดจะ ทำให้ไม่รู้สึกตัว การหายใจลดลง และอาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ ในบางรายอาจเกิดการบวมของปอด ทำให้หายใจหอบและเสมหะ เป็นฟองได้ อาการจากการขาดยาอาการถอนยาที่เกิดขึ้นในผู้ติดยาบางคนที่ติดอย่างรุนแรงและสุขภาพไม่ดีอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดยานอนหลับ อาจเกิดอาการไข้สูง ชัก และไม่รู้สึกตัวได้ในบางรายอาจมีอาการถอนยาที่ปรากฏคล้ายโรคทางกาย เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเหมือนการอุดตันของลำไส้ ทำให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขโดยวินิจฉัยผิดได้ อาการถอนยาที่เกิดในเด็กแรกเกิด เนื่องจากมารดาติดยาเสพติด และใช้ยาในระยะก่อนคลอด จะทำให้เด็กไม่แข็งแรง หายใจน้อย และเสียชีวิต ได้ง่าย ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมาย ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐมักจะเป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และการคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรา กำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูงและทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ นโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยมียุทธศาสตร์หลัก “ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” เพื่อมุ่งเน้นการดำเนินงานระดับชุมชนและหมู่บ้านทุกแห่งทั่วประเทศ พลังมวลชนเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดในลักษณะของการบูรณาการ ดังนั้นชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านตำบล ท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงจัดทำโครงการชาวท่าจะหลุง รวมใจ รวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ขึ้น 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพกายและจิตใจที่เกิดจากการติดยาเสพติดของประชาชนในพื้นที่ 2. เพื่อป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ 3. เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในชุมชน 4. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญการป้องกันภัยจากยาเสพติด สร้างจิตสำนึกต่อต้านยาเสพติดให้กับประชาชนในพื้นที่ 5. เพื่อร่วมกันเฝ้าระวัง สอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในชุมชน และค้นหาผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่นำไปบำบัดรักษาต่อไป 6. เพื่อบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในการต่อต้านยาเสพติด 3.งบประมาณ - ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง จำนวน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ยืมและใช้จ่ายไป สำรองจ่ายไป ดังนี้ 1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 500 คนๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท 2. ค่าจ้างเหมาเวทีและเครื่องเสียง เป็นเงิน 7,000 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำซุ้มนิทรรศการ เป็นเงิน 10,728 บาท 4. ค่าจ้างเหมาจัดทำซุ้มนิทรรศการ เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ค่าของรางวัลสำหรับการแข่งขันทางวิชาการ เป็นเงิน 13,500 บาท 6. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการแข่งขันทางวิชาการ เป็นเงิน 1,312 บาท 7. ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียงสำหรับใช้ในวันเดินรณรงค์ เป็นเงิน 3,000 บาท 8. ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 4,460 บาท 9. ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 2,000 บาท 10. ค่าวัสดุ อุปกรณ์อื่น ๆ เป็นเงิน - บาท รวมงบประมาณ 65,000 บาท รวมใช้จ่ายเงินที่ยืมไป สำรองจ่ายไป ทั้งหมด จำนวน 65,000 บาท คงเหลือเงินยืมและส่งคืนมาพร้อมนี้ รวมจำนวน 15,000 บาท 4.ระยะเวลาในการดำเนินงาน ดำเนินการในวันที่ 22 มิถุนายน 2555 และวันที่ 26 มิถุนายน 2555 จำนวน 2 วัน มีรายละเอียดดังนี้ 1. จัดนิทรรศการต้านยาเสพติด ในวันที่ 22 มิถุนายน ๒๕๕๕ - จัดซุ้มกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดของแต่ละหมู่บ้าน - ประกวดเรียงความ - ประกวดคำขวัญ - ตอบปัญหา - ประกาศสัตยาบันต่อต้านยาเสพติด - มอบใบประกาศเกียรติคุณด้านการต่อต้านยาเสพติด - X-ray ค้นหาผู้เสพยาเสพติดเพื่อส่งเข้ารับการบำบัด 2. เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 26 มิถุนายน 2555 5. ผลการดำเนินงาน ตามที่ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่ตำบลท่าจะหลุง ได้จัดทำโครงการ “โครงการชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปีงบประมาณ 2555” เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพกายและจิตใจที่เกิดจากการติดยาเสพติดของประชาชนในพื้นที่, ป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่, รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในชุมชน, สร้างความตระหนักถึงความสำคัญการป้องกันภัยจากยาเสพติด สร้างจิตสำนึกต่อต้านยาเสพติดให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยดำเนินการในวันที่ 22 มิถุนายน 2555 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง และวันที่ 26 มิถุนายน 2555 จำนวน 2 ครั้ง ในเขตพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา นั้น บัดนี้ การดำเนินงานตามโครงการ “ ชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลังต่อต้านยาเสพติด ปีงบประมาณ 2555” ได้เสร็จสิ้นแล้ว ผลปรากฏดังนี้ 1.จากกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 500 คน ผลการดำเนินงานปรากฏว่ามีประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมมากเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย หน่วยงานราชการจากอำเภอโชคชัย หน่วยงานราชการในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง โรงเรียนบ้านหนองกก โรงเรียนบ้านขี้ตุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขี้ตุ่น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษานอกระบบตามอัธยาศัยตำบลท่าจะหลุง กลุ่มองค์กรสตรีแม่บ้านตำบลท่าจะหลุง กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุงทุกหมู่บ้าน กำนันผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน และประชาชนชาวตำบลท่าจะหลุง มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างพร้อมเพียงกัน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกคนทุกภาคส่วน ไม่ว่าเป็นผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม ต่อการบริหารจัดการภาครัฐ ภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.งบประมาณที่ตั้งไว้ตามโครงการ ฯ ทั้งสิ้น 80,000.-บาท (-หนึ่งหมื่นสองพันบาทถ้วน-) ผลการดำเนินงานตามโครงการ ฯ ใช้งบประมาณจริงจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 65,000. บาท คงคืนเงินจำนวน 15,000.- บาท คิดเป็น 18.75 % ของจำนวนเงินที่ลดได้ นับได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการครบถ้วน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารและรูปภาพประกอบกิจกรรมที่แนบมาพร้อมนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ 1. ป้องกันปัญหาสุขภาพกายและจิตใจที่เกิดจากการติดยาเสพติดของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งแต่ละชุมชน นำโดยผู้นำชุมชน ญาติพี่น้องของผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ให้ความร่วมมือนำบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ทั้งโดยสมัครใจและด้วยการค้นหาจากผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดเข้ารับการอบรมและบำบัดยาเสพติด และเมื่ออบรมกลับมาเป็นการคืนคนดีเข้าสู่สังคม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 2. การป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ * การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติด ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้ 1. การป้องกันตนเอง โดยเด็กนักเรียน เยาวชน ประชาชนไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย ,เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย,รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้, การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก 2. การป้องกันในครอบครัว * พ่อแม่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง ส่วนใหญ่ให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด 3. การป้องกันในโรงเรียน * ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. การป้องกันชุมชน *การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น 1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เน้นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด 2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำ รองเท้า เป็นต้น 3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน 4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง 1. การให้อบรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและ ปราบปรามสิ่งเสพติด 3.มีการแต่งตั้งคณะทำงานโครงการชาวท่าจะหลุง รวมใจ รวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด โดยมา จากหน่วยงาน 3. การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ต่อต้านยาเสพติดในชุมชน - มีการเดินรณรงค์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยนักเรียน คณะครู สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจะหลุง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และกลุ่มอสม. กลุ่มองค์กรสตรีแม่บ้านทุกหมู่บ้านให้ความรู้ในเรื่องป้องกันยาเสพติดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง จำนวน 2 ครั้ง และติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด โดยติดไว้ตามสถานที่ต่างๆในพื้นที่ตำบลท่าจะหลุง 4. สร้างความตระหนักถึงความสำคัญการป้องกันภัยจากยาเสพติด สร้างจิตสำนึกต่อต้านยาเสพติดให้กับประชาชนในพื้นที่ - มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน - โดยประชาชนในตำบลท่าจะหลุงเกิดความตระหนักถึงพิษและภัยของยาเสพติด ให้ความสำคัญและดูแลป้องกันภัยจากยาเสพติด สร้างจิตสำนึกต่อต้านยาเสพติดให้กับประชาชนในพื้นที่ - จัดนิทรรศการต้านยาเสพติด - จัดซุ้มกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดของแต่ละหมู่บ้าน - ประกวดเรียงความ,ประกวดคำขวัญ,ตอบปัญหาของนักเรียนในพื้นที่ 5. ร่วมกันเฝ้าระวัง สอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในชุมชน และค้นหาผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่นำไปบำบัดรักษาต่อไป -การดำเนินงานค้นหาผู้ค้า ผู้เสพยาเสพติด (x-ray) ประชาชนในพื้นที่ จากผู้ที่เข้าร่วม กิจกรรมตามโครงการ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกท่านเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นข้อมูลลับของทางราชการ - ประกาศสัตยาบัน และมอบใบประกาศเกียรติคุณด้านการต่อต้านยาเสพติด -การดำเนินงานได้รับความร่วมมือจากชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 6. บูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในการต่อต้านยาเสพติด -มีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน รวม ทั้งสิ้น จำนวน 500 คน ดังนี้ 1. ชมรมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านตำบลท่าจะหลุง 2. เด็กนักเรียนและคณะครูอาจารย์โรงเรียนบ้านขี้ตุ่น/โรงเรียนบ้านหนองกก 3. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลท่าจะหลุง 4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าจะหลุง/หน่วยงานราชการในพื้นที่ 5. สมาชิกสภา อบต.ท่าจะหลุง 6. กลุ่ม อสม./ อปพร./กลุ่มองค์กรสตรีแม่บ้านในพื้นที่ 7. ประชาชนชาวตำบลท่าจะหลุงที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการต้านภัยยาเสพติดและตระหนักถึงโทษของยาเสพติด จึงทำให้ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 6.ปัญหา/อุปสรรค - ปัญหาการค้นหาข้อมูลผู้เสพ ผู้ค้า ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนไม่เข้าใจขั้นตอนการให้ข้อมูล ทำให้ข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนไม่เป็นจริง - ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ยังขาดความร่วมมือจากประชาชนเพศชาย - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวนมาก ไม่สามารถที่จะประสานงานได้อย่างทั่วถึง - ผู้เสพ ผู้ค้า ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานเท่าที่ควร 7.ข้อเสนอแนะ ในการการแก้ไขปัญหายาเสพติด ควรมีการบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วน และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและทำงานเป็นทีมเชิงรุก พร้อมทั้งมีการฟื้นฟู บำบัด และคืนคนดีสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ลงชื่อ นิยะดา เนื่องกระโทก ผู้จัดทำรายงาน ลงชื่อ เมธา บุตรพาชี ผู้รับรองรายงาน (นางสาวนิยะดา เนื่องกระโทก) (นายเมธา บุตรพาชี) แพทย์ประจำตำบล กำนันตำบลท่าจะหลุง

    เอกสารประกอบ

รายงานผลการดำเนินโครงการชาวท่าจะหลุงรวมใจ รวมพลังต
 
    วันที่ลงข่าว
: 16 ก.ค. 2555
    ผู้ลงข่าว : ผู้ดูแลระบบ